KIN Origin Ratchaphruek
ศูนย์ดูแลด้านสุขภาพเพื่อการฟื้นฟูร่างกายอย่างครบวงจร ประกอบไปด้วย โรงพยาบาลกายภาพบำบัด ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Center) คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โรคกระดูกและข้อ (Orthopedic) กายภาพบำบัด (Rehabilitation) เทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ (Health Tech) และ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (Nursing Home) ผู้ป่วยพักฟื้น ผู้ป่วยติดเตียง (ระยะยาว , ชั่วคราว)
“KIN ORIGIN” ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน
เพื่อการฟื้นฟูรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด "ให้คุณอุ่นใจ เมื่อฟื้นฟูกับเรา"
![โปรโมชั่น kin origin สาขาราชพฤกษ์](upload/images/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C/%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%20%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%20%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C.jpg)
บริการของศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง KIN ORIGIN
![คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Clinic)](upload/images/webp/index/_%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%20kin%20origin%20%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B8%A1%20.png)
แพทย์ พยาบาล และทีมผู้ดูแลมืออาชีพ
(Our Team)
มีแพทย์เฉพาะด้าน ทั้งด้านระบบประสาท และสมอง ด้านเวชศาสตร์ ทีมฟื้นฟูผู้เชี่ยวชาญ พยาบาลวิชาชีพ และผู้ดูแลผู้ป่วย ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง...
![แพทย์ พยาบาล และทีมผู้ดูแลมืออาชีพ](upload/images/webp/index/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%20Stroke%20Rehabilitation%20Clinic.webp)
คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง
(Stroke Clinic)
โดยแพทย์เฉพาะทางโรคสมองและระบบประสาท อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมอง ด้วย เครื่องมือทางกายภาพบำบัด...
![คลินิกกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด](upload/images/KIN%20Origin/web2/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94%20kinorigin.png)
คลินิกกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
(Physical therapyclinic)
คลินิกกายภาพบำบัด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation) เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย...
![คลินิกโรคกระดูกและข้อ (Orthopedic Clinic)](upload/images/webp/index/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%20Orthopedic.jpg)
คลินิกโรคกระดูกและข้อ
(Orthopedic Clinic)
ศูนย์ดูแลข้อเข่าเสื่อม โดยแพทย์ด้านกระดูกและข้อ (Orthopedics) รักษาอาการข้อเข่าเสื่อม รักษาอาการปวด หรือ อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ...
![คลินิกสุขภาพจิต](upload/images/web/2023/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%20kinorigin.jpg)
คลินิกสุขภาพจิต
ให้บริการปรึกษาและรักษาปัญหาด้านสุขภาพจิตอย่างมีคุณภาพ โดยจิตแพทย์และทีมงานนักจิตวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ...
![บริการเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ](upload/images/web/webp/Healthtech%20%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%20.webp)
เทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ
(Health Tech)
มีเครื่องมือการฟื้นฟูที่ทันสมัย มี Robot ที่ช่วยในเรื่องการฝึกการเดินของผู้ป่วย และยังมีระบบ Docare เครื่องรายงานการตรวจสุขภาพแบบเรียลไทม์...
การฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองใช้เวลานานเท่าไหร่?
การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูที่แตกต่างกันตามอาการและลักษณะของโรค รวมถึงตำแหน่งที่เกิดโรค การฟื้นฟูสมองและร่างกายที่มีประสิทธิภาพจะใช้เวลาในช่วงที่เรียกว่า Golden Period ซึ่งคือช่วงเวลา 3-6 เดือนแรกหลังเกิดโรค ในช่วงเวลานี้ หากผู้ป่วยได้รับการฝึกและดูแลอย่างถูกต้อง สมองจะพัฒนาและแสดงศักยภาพได้ไวขึ้น
หลังจากผ่านไป 6 เดือน ผู้ป่วยยังสามารถฝึกและฟื้นฟูต่อเนื่องได้เรื่อย ๆ แม้ว่าอัตราการพัฒนาอาจจะช้าลง แต่การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอยังคงมีความสำคัญอย่างมากในการฟื้นฟูสมองและร่างกาย
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและสามารถก่อให้เกิดอาการหลายอย่าง ซึ่งต้องได้รับการดูแลและรักษาอย่างทันท่วงที อาการที่พบบ่อยของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่:
- ร่างกายชา อ่อนแรง ครึ่งซีก
ผู้ป่วยจะรู้สึกชาหรืออ่อนแรงในครึ่งซีกของร่างกาย ซึ่งมักจะเป็นข้างเดียวกับที่สมองได้ รับผลกระทบ
- ใบหน้าอ่อนแรง หน้าเบี้ยว
ใบหน้าอาจอ่อนแรงและเบี้ยวไปข้างหนึ่ง มักเกิดร่วมกับอาการแขนและขาอ่อนแรง
- เวียนศีรษะ การทรงตัวไม่ดี
ผู้ป่วยอาจมีอาการเวียนศีรษะและเสียการทรงตัว ทำให้การเดินหรือเคลื่อนไหวเป็นไป
อย่างลำบาก
- กลืนอาหารลำบาก
การกลืนอาหารอาจลำบากหรือเจ็บปวด
- พูดไม่ค่อยได้ พูดลำบาก พูดไม่ชัด
การพูดอาจจะลำบากหรือพูดไม่ชัดเจน รวมถึงอาจมีอาการฟังไม่เข้าใจร่วมด้วย
- ตาข้างใดข้างหนึ่งมัว เห็นภาพซ้อน
การมองเห็นอาจเปลี่ยนแปลง เช่น มองไม่เห็นชั่วคราว เห็นภาพซ้อน หรือคล้ายม่านบังตา
- ปวดศีรษะฉับพลัน
อาจมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและฉับพลัน
- รู้สึกสับสน หรือเสียการทรงตัว
ผู้ป่วยอาจรู้สึกสับสนหรือเสียการทรงตัว ซึ่งมักเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ
![ศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง KIN](upload/images/KIN%20ORIGIN/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%20nursinghome%20kinorigin.jpg)
เป้าหมายในการดูแล และฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
การดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีเป้าหมายสำคัญดังนี้:
- เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปดำเนินชีวิตและทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ
การฟื้นฟูสมองและร่างกายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม
- เพื่อให้สมองได้เรียนรู้ จดจำได้ง่ายขึ้น
การฝึกฝนสมองและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และความจำ
- เพื่อให้ผู้ป่วยดึงศักยภาพในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
- เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียง
การดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการนอนติดเตียงเป็นเวลานาน
- เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดการพิการซ้ำซ้อนเกิดขึ้นอีก
การดูแลและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดพิการซ้ำซ้อน
การดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องการการมีส่วนร่วมจากทีมผู้เชี่ยวชาญหลายด้านและการสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการฟื้นฟู
1. อาการและลักษณะของโรค
- อัมพฤกษ์
- อัมพาต
- เส้นเลือดสมองตีบ
- เส้นเลือดสมองแตก
2. ตำแหน่งที่เกิดโรค
- สมองซีกขวา หรือ ซีกซ้าย
- ตำแหน่งที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การพูด หรือการรับรู้
![การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เครื่อง tms](upload/images/KIN%20ORIGIN/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%20%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%20%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%20kinorigin%20%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94.jpg)
การดูแล และการฟื้นฟูจากทีมผู้เชี่ยวชาญ
การได้รับการฟื้นฟูและการดูแลจากทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ จะช่วยให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการได้ไวและดียิ่งขึ้น ทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่:
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคสมอง และระบบประสาท
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
- นักกายภาพบำบัด
- นักกิจกรรมบำบัด
- พยาบาลวิชาชีพ
- นักโภชนาการ
- ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
การฟื้นฟูสมอง และร่างกาย
การฟื้นฟูสมอง และร่างกายที่มีประสิทธิภาพจะต้องครอบคลุมทุกด้านของการดูแลสุขภาพ การฟื้นฟูสมองผ่านการฝึกฝน และกิจกรรมบำบัด การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการดูแลด้านจิตใจและโภชนาการที่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการได้ไวและดียิ่งขึ้น
การฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองจึงเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความอดทน แต่ด้วยการดูแลจากทีมผู้เชี่ยวชาญและการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะมีโอกาสในการฟื้นฟูสมองและร่างกายกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะที่ต้องการการดูแลและรักษาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่เคยมีอาการโรคหลอดเลือดสมองมีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการซ้ำ ดังนั้น การป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดซ้ำเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้:
การลดความเสี่ยงที่จะเกิดซ้ำ
1. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของหัวใจและ
หลอดเลือด
2. การเลือกอาหารที่เหมาะสม
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง หมูติดมัน เบคอน
ไส้กรอก กุนเชียง และน้ำมันจากสัตว์ เนย
3. การดื่มน้ำให้เพียงพอ
ควรดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันเพื่อรักษาสมดุลน้ำในร่างกาย
4. การควบคุมความดันโลหิต
ควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือด
สมอง
การรักษาแบบ Fast-Track
การรักษาแบบ Fast-Track คือการรักษาภายในไม่เกิน 3-6 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการจนมาถึงโรงพยาบาล โดยกระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย
1. การตรวจวินิจฉัยด้วยการ X-ray
แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยด้วยการ X-ray เพื่อประเมินสภาพของหลอดเลือดและ
สมอง
2. การซักประวัติและตรวจร่างกาย
แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อประเมินความเสี่ยงและอาการของผู้ป่วย
3. การให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาสลายเลือด
หากตรวจพบว่ามีลิ่มเลือดหรือเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมอง แพทย์จะให้ยาละลาย
ลิ่มเลือดหรือยาสลายเลือดทันที ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาฟื้นคืนสภาพภายใน 1
หรือ 24 ชั่วโมง โดยอาจมีอาการอ่อนแรง หรือเล็กน้อยหลังจากการรักษา
4. การฟื้นฟูร่างกาย
หลังจากการรักษาผ่านไป 1-2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะเข้าสู่ขั้นตอนการฟื้นฟูร่างกายเพื่อช่วย
เหลือในระยะยาว
การฟื้นฟูด้วยกายภาพบำบัด
การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยกายภาพบำบัดมีความสำคัญมากในการฟื้นฟูการทำงานของร่างกายและลดความพิการ กระบวนการฟื้นฟูรวมถึง:
1. การฝึกเดินและการทรงตัว
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเดิน และทรงตัวได้อย่างมั่นคง
2. การเคลื่อนไหวร่างกาย
การฝึกเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น และความแข็งแรง
3. การฝึกพูด และการสื่อสาร
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาพูด และสื่อสารได้
4. การฝึกฟัง และกลืนอาหาร
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาฟัง และกลืนอาหารได้อย่างปลอดภัย
การรักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องการการดูแลที่ละเอียดอ่อน และครอบคลุมจากทีมแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- การตรวจสุขภาพประจำ มีแพทย์และพยาบาลคอยตรวจสุขภาพ และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
- การให้ยา และการรักษา ดูแลการให้ยาตามแพทย์สั่งและการรักษาโรคประจำตัว
- การฟื้นฟูสมรรถภาพ กิจกรรมบำบัดและการกายภาพบำบัดเพื่อรักษาสมรรถภาพทางกาย
- อาหารครบถ้วน และสมดุล จัดเตรียมอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามความต้องการของผู้สูงอายุแต่ละคน
- การปรับอาหารตามโรค อาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- กิจกรรมบำบัดจิตใจ จัดกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และความสุข เช่น การทำงานศิลปะ การเล่นดนตรี
- การให้คำปรึกษา และสนับสนุนทางจิตใจ มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์คอยให้คำปรึกษา
- การสร้างสังคม และความสัมพันธ์ ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นผ่านกิจกรรมกลุ่ม
- การตรวจสอบสภาพแวดล้อม ตรวจสอบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
- การฝึกซ้อมเผชิญเหตุฉุกเฉิน การฝึกซ้อมรับมือกับเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้
![kin origin สาขาราชพฤกษ์](upload/images/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87/kin%20origin%20%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C070.jpg)
การฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้สูงอายุมีความสำคัญมากในการรักษาสมรรถภาพทางกาย และจิตใจ ซึ่งกิจกรรมบำบัด และการกายภาพบำบัดเป็นวิธีการสำคัญในการช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
กิจกรรมบำบัดมุ่งเน้นในการช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีกิจกรรมดังนี้:
- กิจกรรมฝึกทักษะชีวิตประจำวัน (Activities of Daily Living - ADLs) เช่น การอาบน้ำ การแต่งตัว การรับประทานอาหาร เพื่อให้ผู้
- กิจกรรมฝึกสมองและความจำ เช่น การเล่นเกมเสริมสร้างความจำ การอ่านหนังสือ การเขียน
- กิจกรรมสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพ การทำงานศิลปะ การเล่นดนตรี
- กิจกรรมสันทนาการ เช่น การทำสวน การทำอาหาร การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม เพื่อเสริมสร้างความสุขและการมีส่วนร่วมในสังคม
![การฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง TMS](upload/images/KIN%20ORIGIN/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88/%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%20tms.jpg)
การกายภาพบำบัดมุ่งเน้นในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและช่วยให้มีความแข็งแรงมากขึ้น โดยมีกิจกรรมดังนี้:
- การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและความแข็งแรง เช่น การยืดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายแบบน้ำหนักเบา การเดิน
- การฝึกการทรงตัวและการเดิน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการล้มและบาดเจ็บ
- บรรเทาอาการปวด
- การฝึกการหายใจและการเพิ่มความจุปอด ช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางระบบหายใจมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การรักษาอาการปวด
1. อาหาร 3 มื้อ
2. กิจกรรมกลุ่ม และกิจกรรมสันทนาการ
3.กิจกรรมพัฒนาทักษะ และกล้ามเนื้อ
4. ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และพยาบาลดูแลตลอด 24 ชั่วโมง
ติดต่อเรา (Contact)
สนใจสอบถามข้อมูล และ ติดตาม KIN Origin
Line
@kinorigin_Ratchaphruek
Call
065-384-5494
Call
082-361-9119