เมื่อ พ่อ แม่ (ผู้สูงอายุ) ไม่ยอมออกกำลังกาย ทำอย่างไรดี ? เทคนิคจิตวิทยา "foot in the door"

โดย.. ดร. ดาริกา ศกุนตนาค

เทคนิคจิตวิทยา Foot in the door

         วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องทางด้านเทคนิคจิตวิทยานะคะที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ยอมออกกำลังกายมากขึ้นนะคะ จากกรณีที่แฟนเพจชอง “สุขภาพดีออกแบบได้ By Health Designs “ ส่งข้อความมาถามว่า คุณพ่อคุณแม่ไม่ยอมออกกำลังกายจะทำอย่างไรดี สำหรับคนใกล้ชิดก็จะตอบว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ยอมออกกำลังกาย ทำไมคุณพ่อไม่ยอมออกกำลังกายเมื่อไหร่จะหาย แล้วก็มีอาการป่วยอยู่เรื่อยนะคะ เดี๋ยวก็เดินไม่ได้เดี๋ยวก็ต้องไปรักษาตัวอีกมากมาย ซึ่งคำพูดที่สื่อสารออกไปก็จะเป็นด้านลบทั้งสิ้นนะคะ ก็จะทำให้ผู้สูงอายุหรือว่าคุณพ่อคุณแม่มีทัศนคติด้านลบในการที่จะออกกำลังกายหรือว่าไม่ยอมทำอะไรตามคำสั่งของลูก ๆ นะคะ โดยลักษณะนิสัยทั่วไปของผู้สูงอายุแล้วก็จะเป็นลักษณะไม่ค่อยอยากขยับเขยื้อนร่างกายนะคะ แล้วก็จะมีความรู้สึกบางทีตัวเองก็ไม่ค่อยมีกำลังใจที่จะทำอะไรนะคะแล้วก็จะรู้สึกว่าเราอายุมากแล้วทำไปทำไม ? แล้วก็รู้สึกว่าไม่อยากจะทำให้ตัวเองเหนื่อย สำหรับเทคนิค Foot in the Door การที่จะก้าวเข้าประตูบ้านก็เปรียบเสมือนการเปิดใจของเขา คือเมื่อไหร่ก็ตามที่คน ๆ นึง ตอบรับคำขอของใครอีกคนก็มีแนวโน้มที่คน ๆ นั้นจะตอบรับคำขอร้องที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ ได้มากขึ้นนะคะ ก็เปรียบเสมือนว่าเวลาเราจะแนะนำดูแล ใส่ใจคุณพ่อคุณแม่หรือว่า ผู้สูงอายุ ให้เงื่อนไขที่ยิ่งใหญ่สำหรับเขามันก็จะยากสำหรับเขาแต่ถ้าเราเปิดประตูหรือว่าขอร้องเขาเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้เขามีความง่ายต่อการปฏิบัติตัวและก็ยอมที่จะทำตามเงื่อนไขของเราได้ง่ายขึ้นนะคะ เราก็จะมาประยุกต์ใช้เทคนิค Foot in the Door นะคะ ในการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือว่าช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ออกกำลังกายมากขึ้นนะคะ

  1. เปิดใจ

ให้ท่านเริ่มทำสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เสียก่อนนะคะ ซึ่งสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเราอาจจะเป็นหยิบยื่นให้เขาได้ออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น คุณพ่ออยากออกไปเล่นออกกำลังกายสัก 5นาที ไหมคะ แค่มีโอกาสได้เดินเก็สามารถที่จะต่อยอดเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่คำว่านิดหน่อยก็จะทำให้เขารู้สึกว่าก็แค่นิดเดียวเอง อย่างที่สองเราอาจจะชวนคุณพ่อคุณแม่ไปปั่นจักรยานอยู่กับที่ก็ได้นะคะ ตั้งการปั่นจักรยานอยู่กับที่อาจจะใช้เวลาแค่ 5นาที แล้วก็ค่อย ๆ เพิ่มขั้นไปเรื่อย ๆ นะคะ แต่เมื่อไหร่ที่เขาบอกว่าทำไมพอ 5นาทีแล้วต้องเป็น 10นาทีหรือ15นาที อย่างนี้นะคะเราก็จะมีเทคนิคง่าย ๆ ก็คือครั้งแรก ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม เราอาจจะต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างน้อยก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มไปเรื่อย ๆ เพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของเขาดีแล้วก็ค่อย ๆ ปรับไปตามระยาเวลานะคะ

  1. ให้รางวัล

หลังจากทำสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เสร็จแล้วก็ควรจะมีรางวัลนะคะ ให้เล็ก ๆ น้อย ๆ อาจจะเป็นคำพูดที่ดีต่อใจคุณพ่อคุณแม่นะคะ เช่น คุณพ่อค่ะเยี่ยมจังเลยค่ะ เห็นไหมเนี่ยมันไม่ค่อยเหนื่อยเท่าไหร่แต่ว่าเราทำกันบ่อย ๆ กันนะคะ หรือว่า หนูรู้สึกรักคุณพ่อมากเลยค่ะ การชื่นชมว่าเขาประสบความสำเร็จเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สร้างกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ให้เขาได้เริ่มต้นการออกกำลังกายเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีมากขึ้นค่ะ

  1. ยื่นเสนอเงื่อนไข

ข้อที่สามนะคะ ในครั้งต่อไปเราก็จะยื่นข้อเสนอเพิ่มขึ้นนะคะ เช่น ขอเพิ่มการปั่นจักรยาน 5 นาที เป็น 7นาที แบบค่อยเป็นค่อยไปนะคะ หรือว่ายื่นข้อเสนอให้เขาออกกำลังกายหรือปฏิบัติตัวไปทีละก้าว ปั่นจักรยานมากขึ้นหรือว่าเดินมากขึ้น บางครั้งเราคาดหวังสูงเกินไปก็จะทำให้ผู้ป่วยหรือคุณพ่อคุณแม่รู้สึกกดดันซึ่งถ้าเราทำทีละเล็กน้อย โดยที่เขาคิดว่ามันเป็นสิ่งแค่เล็กน้อยเท่านั้น ก็สามารถที่จะทำให้เราได้ง่ายขึ้นกว่าการที่เราจะบอกว่าต้องทำเท่านี้ 30นาที หรือว่า 1ชั่วโมงนะคะ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ทำให้เขารู้สึกว่าเขาเหนื่อยมากนะคะ

เทคนิคจิตวิทยา Foot in the door

         วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องทางด้านเทคนิคจิตวิทยานะคะที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ยอมออกกำลังกายมากขึ้นนะคะ จากกรณีที่แฟนเพจชอง “สุขภาพดีออกแบบได้ By Health Designs “ ส่งข้อความมาถามว่า คุณพ่อคุณแม่ไม่ยอมออกกำลังกายจะทำอย่างไรดี สำหรับคนใกล้ชิดก็จะตอบว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ยอมออกกำลังกาย ทำไมคุณพ่อไม่ยอมออกกำลังกายเมื่อไหร่จะหาย แล้วก็มีอาการป่วยอยู่เรื่อยนะคะ เดี๋ยวก็เดินไม่ได้เดี๋ยวก็ต้องไปรักษาตัวอีกมากมาย ซึ่งคำพูดที่สื่อสารออกไปก็จะเป็นด้านลบทั้งสิ้นนะคะ ก็จะทำให้ผู้สูงอายุหรือว่าคุณพ่อคุณแม่มีทัศนคติด้านลบในการที่จะออกกำลังกายหรือว่าไม่ยอมทำอะไรตามคำสั่งของลูก ๆ นะคะ โดยลักษณะนิสัยทั่วไปของผู้สูงอายุแล้วก็จะเป็นลักษณะไม่ค่อยอยากขยับเขยื้อนร่างกายนะคะ แล้วก็จะมีความรู้สึกบางทีตัวเองก็ไม่ค่อยมีกำลังใจที่จะทำอะไรนะคะแล้วก็จะรู้สึกว่าเราอายุมากแล้วทำไปทำไม ? แล้วก็รู้สึกว่าไม่อยากจะทำให้ตัวเองเหนื่อย สำหรับเทคนิค Foot in the Door การที่จะก้าวเข้าประตูบ้านก็เปรียบเสมือนการเปิดใจของเขา คือเมื่อไหร่ก็ตามที่คน ๆ นึง ตอบรับคำขอของใครอีกคนก็มีแนวโน้มที่คน ๆ นั้นจะตอบรับคำขอร้องที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ ได้มากขึ้นนะคะ ก็เปรียบเสมือนว่าเวลาเราจะแนะนำดูแล ใส่ใจคุณพ่อคุณแม่หรือว่า ผู้สูงอายุ ให้เงื่อนไขที่ยิ่งใหญ่สำหรับเขามันก็จะยากสำหรับเขาแต่ถ้าเราเปิดประตูหรือว่าขอร้องเขาเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้เขามีความง่ายต่อการปฏิบัติตัวและก็ยอมที่จะทำตามเงื่อนไขของเราได้ง่ายขึ้นนะคะ เราก็จะมาประยุกต์ใช้เทคนิค Foot in the Door นะคะ ในการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือว่าช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ออกกำลังกายมากขึ้นนะคะ

  1. เปิดใจ

ให้ท่านเริ่มทำสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เสียก่อนนะคะ ซึ่งสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเราอาจจะเป็นหยิบยื่นให้เขาได้ออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น คุณพ่ออยากออกไปเล่นออกกำลังกายสัก 5นาที ไหมคะ แค่มีโอกาสได้เดินเก็สามารถที่จะต่อยอดเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่คำว่านิดหน่อยก็จะทำให้เขารู้สึกว่าก็แค่นิดเดียวเอง อย่างที่สองเราอาจจะชวนคุณพ่อคุณแม่ไปปั่นจักรยานอยู่กับที่ก็ได้นะคะ ตั้งการปั่นจักรยานอยู่กับที่อาจจะใช้เวลาแค่ 5นาที แล้วก็ค่อย ๆ เพิ่มขั้นไปเรื่อย ๆ นะคะ แต่เมื่อไหร่ที่เขาบอกว่าทำไมพอ 5นาทีแล้วต้องเป็น 10นาทีหรือ15นาที อย่างนี้นะคะเราก็จะมีเทคนิคง่าย ๆ ก็คือครั้งแรก ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม เราอาจจะต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างน้อยก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มไปเรื่อย ๆ เพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของเขาดีแล้วก็ค่อย ๆ ปรับไปตามระยาเวลานะคะ

  1. ให้รางวัล

หลังจากทำสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เสร็จแล้วก็ควรจะมีรางวัลนะคะ ให้เล็ก ๆ น้อย ๆ อาจจะเป็นคำพูดที่ดีต่อใจคุณพ่อคุณแม่นะคะ เช่น คุณพ่อค่ะเยี่ยมจังเลยค่ะ เห็นไหมเนี่ยมันไม่ค่อยเหนื่อยเท่าไหร่แต่ว่าเราทำกันบ่อย ๆ กันนะคะ หรือว่า หนูรู้สึกรักคุณพ่อมากเลยค่ะ การชื่นชมว่าเขาประสบความสำเร็จเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็สร้างกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ให้เขาได้เริ่มต้นการออกกำลังกายเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีมากขึ้นค่ะ

  1. ยื่นเสนอเงื่อนไข

ข้อที่สามนะคะ ในครั้งต่อไปเราก็จะยื่นข้อเสนอเพิ่มขึ้นนะคะ เช่น ขอเพิ่มการปั่นจักรยาน 5 นาที เป็น 7นาที แบบค่อยเป็นค่อยไปนะคะ หรือว่ายื่นข้อเสนอให้เขาออกกำลังกายหรือปฏิบัติตัวไปทีละก้าว ปั่นจักรยานมากขึ้นหรือว่าเดินมากขึ้น บางครั้งเราคาดหวังสูงเกินไปก็จะทำให้ผู้ป่วยหรือคุณพ่อคุณแม่รู้สึกกดดันซึ่งถ้าเราทำทีละเล็กน้อย โดยที่เขาคิดว่ามันเป็นสิ่งแค่เล็กน้อยเท่านั้น ก็สามารถที่จะทำให้เราได้ง่ายขึ้นกว่าการที่เราจะบอกว่าต้องทำเท่านี้ 30นาที หรือว่า 1ชั่วโมงนะคะ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ทำให้เขารู้สึกว่าเขาเหนื่อยมากนะคะ

 
สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
โทร. 091-803-3071 / 02-020-1171
สอบถามบริการของ KIN  แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
Twitter : https://twitter.com/KinRehab
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.kinrehab.com
 

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab