ดนตรีบำบัด (music therapy) คือ การใช้กิจกรรมทางดนตรี อาจจะเป็นการฟังหรือเล่นดนตรี การร้องเพลง แต่งเพลง เพื่อบำบัดความเจ็บป่วย ฟื้นฟูสภาพร่างกายพัฒนาด้านอารมณ์ และสติปัญญา ซึ่งเป็นการรักษาแบบ alternative medicine หรือการแพทย์ทางเลือก มีคำกล่าวว่า
ดนตรีเป็น “mind medicine” โดยใช้เป็นเครื่องมือในการรักษามานานหลายศตวรรษ ธรรมชาติของดนตรีที่ไร้พรมแดน มีได้หลากหลายรูปแบบ ทำให้เข้ากับคนได้อย่างไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติ และศาสนา ดนตรีช่วยในการรักษาปัญหาทาง
ร่างกายและจิตใจ จากการฟังดนตรีประเภทต่าง ๆ เช่น ลูกทุ่ง ลูกกรุง หรือดนตรีคลาสสิก (classical music) ดนตรีสามารถ กระตุ้นสมองได้เกือบทุกส่วน เช่น ส่วน auditory (เกี่ยวข้องการได้ยิน) motor cortex (เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของ แขน ขา ใบหน้า) และ limbic system (เกี่ยวข้องอารมณ์ จิตใจ การตระหนักรู้ ความเข้าใจ และความจำ)
 
การร้องเพลงเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีอาการป่วยทางสมอง
ปกติแล้วสมองซีกขวาของคนเราจะทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดแบบองค์รวม สัญชาติญาณ ศิลปะ จังหวะ หรือจินตนาการ ซึ่งความสามารถในการร้องเพลงของคนเรานั้นส่วนหนึ่งมีผลมาจากสมองซีกขวา การร้องเพลงจึงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยบางราย โดยนักวิจัยพบว่าการร้องเพลงอาจมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ที่กำลังฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมองหรือจากอาการบาดเจ็บทางสมองที่ทำให้สมองซีกซ้ายซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับคำพูดเกิดความเสียหาย โดยผู้ป่วยอาจใช้สมองซีกขวาในการเรียนรู้ที่จะพูดในสิ่งที่ตนเองคิดออกมาเป็นเพลงก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ ละทำนองเพลงทิ้ง นอกจากนี้ การร้องเพลงยังช่วยให้คนที่มีสุขภาพดีเรียนรู้เกี่ยวกับคำพูดและวลีได้เร็วขึ้นด้วยเช่นกัน
 

ฟังเพลงอย่างไรให้เกิดประโยชน์ ?

ผู้ที่ต้องการฟังเพลงเพื่อพัฒนาสมองควรเลือกฟังเพลงตามแนวที่ชื่นชอบ โดยอาจใช้หูฟังคู่ใจเพื่อฟังเพลงโปรดเหล่านั้นพร้อมกับฟังเพลงแบบสุ่มไปด้วย เพราะการฟังเพลงแบบสุ่มจะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขอย่างโดพามีนออกมา นอกจากนี้ อาจเลือกฟังเพลงแจ๊สก็ได้ เพราะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชี้ว่า การฟังเพลงแจ๊สช่วยเพิ่มสารเอ็นดอร์ฟินและสารอิมมูโนโกลบูลินที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อในร่างกาย หรืออาจเลือกฟังดนตรีออร์เคสตรา เพราะนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าดนตรีออร์เคสตราช่วยให้ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมมีความมั่นใจในตนเองและอารมณ์ดีขึ้น ส่วนเพลงคลาสสิคก็อาจช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจและชีพจรช้าลง ช่วยลดความดันโลหิต และลดฮอร์โมนความเครียดได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรฟังเพลงในระดับเสียงที่ดังเกินไป เพราะอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน และไม่ควรให้เด็กทารกฟังเพลงจากหูฟัง เพราะสมองของเด็กยังไม่พร้อมที่จะรับคลื่นเสียงที่มีความเข้มข้นสูง แต่หากต้องการให้ทารกได้ยินเสียงเพลง ควรร้องเพลงให้เด็กฟังด้วยตัวเองแทน

ที่มา : https://www.pobpad.com/เพลงพัฒนาสมองได้-ประโยชน์
       https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/395

ดูข้อมูลเพิ่มเติม
 
สนใจสอบถามข้อมูลและติดตาม KIN
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
 
 ปรึกษา​แพทย์​ โทร​ 065-594-2989 โทรสอบถาม 091-803-3071 / 02-020-1171 
 แอด LINE@ สอบถามรายละเอียด @kin.rehab มี @ ข้างหน้า หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6
 
 

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab