11 เมษายน วันพาร์กินสันโลก

 

   ทุกวันที่ 11 เมษายนของทุกปีถูกกำหนดขึ้นให้เป็นวันพาร์กินสันโลก (World Parkinson’s Disease Day) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงโรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบเป็นอันดับสองรองจากโรคอัลไซเมอร์

 

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) คือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทบริเวณสมองส่วนกลาง เป็นโรคที่พบได้บ่อยรองจากโรคอัลไซเมอร์ มักพบในผู้ป่วยสูงอายุตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป โดยพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชายเพียงเล็กน้อย

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ ?

โรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง โดยเฉพาะส่วนที่สร้างโดพามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่จำเป็นต่อการทำงานของสมอง ทำให้โดพามีนมีปริมาณน้อยลง จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหว

 

อาการและแนวทางการดำเนินโรค

อาการทางกาย
สั่น, เคลื่อนไหวช้า, หน้านิ่ง, พูดช้า เสียงค่อย, น้ำลายไหล, ร่างกายแข็งเกร็ง, เดินลำบาก, เดินซอยเท้า, เท้าติดเวลาก้าวขา, หกล้มง่าย

 

อาการทางจิตใจ
ซึมเศร้า, วิตกกังวล

 

อาการอื่น ๆ : 
ความจำระยะสั้นไม่ค่อยดีในระยะต้น ความจำเสื่อมในระยะท้าย, เหงื่อออกมาก, ท้องอืด, ท้องผูก, ปัสสาวะบ่อย, ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้, การรับรู้กลิ่นและรสไม่ดี, มึนศีรษะเวลาลุกขึ้นเนื่องจากความดันโลหิตต่ำลง

 

แนวทางการดำเนินโรค

อาการของโรคจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากความเสื่อมของเซลล์สมอง ทำให้สูญเสียสมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการผลิตสารสื่อประสาทไปและไม่สามารถสร้างขึ้นทดแทนใหม่ได้

 

 วิธีการรักษา

1. การรักษาด้วยตัวเอง

ออกกำลังกายและฝึกตามที่นักกายภาพบำบัดแนะนำ

 
2. การรักษาทางกายภาพบำบัด
  • ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ฝึกการประสานสัมพันธ์ (Coordination)
  • ฝึกการทรงตัว
  • ฝึกการเดิน
  • กระตุ้นการรับรู้

3. การรักษาอื่น ๆ

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้

 
  • การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน
  • การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep Brain Stimulation) เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร
  • แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

การป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีกของโรคนี้

1. รับประทานยาชะลอการฝ่อลีบของสมองและรักษาระดับความรุนแรงของโรคไม่ให้เพิ่มมากขึ้น
2. ออกกำลังกายเพื่อป้องกันการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อจากการมีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) ที่ลดลง

 

สอบถามข้อมูลการฟื้นฟู
และนัดดูสถานที่

 


สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่ม นัดหมายเข้ามาดูสถานที่ ติดต่อ
KIN (คิน) - Rehabilitation & Homecare
     
 
 โทร : 02-096-4996 , 091-803-3071 , 095-884-2233
 LINE สอบถามรายละเอียด @kinrehab (มี @ ข้างหน้า) หรือ Click : http://bit.ly/2M5f3Id
 Youtube Channel : https://cutt.ly/TyTh3bd
 แผนที่ไป KIN : http://bit.ly/2VvPDq6

ข่าวสารบทความ อื่นๆ

KIN Rehab